วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การเลี้ยงลูกแมวกำพร้าแม่ ต้องทำอย่างไรบ้าง?



web statistics













 


การเลี้ยงลูกแมวกำพร้า

โดยปกติลูกแมวจะได้น้ำนมจากแม่ภายใน 12 ชั่วโมงแรกหลังจากคลอด และลูกแมวจะดูดซึมภูมิคุ้มกันจากน้ำนมได้ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังจากคลอด แต่ในกรณีที่ไม่มีแม่ให้น้ำนม เราจำเป็นต้องให้แมวเล็กดูดนมจากขวดนม หรือหลอดไซลิ้งหรืออื่นๆ ที่เราสามารถหามาได้

การให้อาหารแมวเล็ก

ต้องระวังไม่ให้สำลักและไม่ให้น้ำนมไหลเข้าสู่ปอดโดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะฉะนั้นการป้อนนมโดยใช้หลอดไซลิ้งจึงเสี่ยงมาก ไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ โดยอนุญาตให้ใช้เฉพาะสำหรับแมวป่วย
- ควรลูบหลังเพื่อให้แมวเด็กเรอออกมาในระหว่างให้อาหารและหลังอาหาร
- นำลูกแมวพาดไหล่ในลักษณะตัวตรงและตบหลังลูกแมวเบาๆ
- 28 ชั่วโมงแรก ลูกแมวต้องการนม 1 มิลลิตรต่อ 1 ชั่วโมง แต่ละวันจะเพิ่มขึ้นวันละ 0.5 มิลลิลิตรจนถึง 10 มิลลิลิตรต่อมื้อจึงหยุดเพิ่ม ลูกแมวควรได้รับอาหารประมาณ 6-9 มื้อในแต่ละวัน
- 2 สัปดาห์แรก ควรให้นม 5-7 มิลลิลิตรต่อครั้ง
- เมื่อมีอายุ 3 สัปดาห์ ควรให้อาหารอ่อนหรืออาหารเปียก 3 มื้อต่อวัน รวมถึงยังคงให้นมอยู่เหมือนเดิม
- เมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 4 ควรได้รับนมจากขวด 4-6 ครั้งต่อวันรวมกับอาหารอ่อน 4-5 ครั้งต่อวัน และลดการให้อาหารช่วงกลางคืนลง ลูกแมวจะทานอาหารเม็ดได้เมื่ออายุ 7 สัปดาห์ ( ประมาณเกือบ2เดือน )
- สัญญาณของการเจ็บป่วยคือ น้ำหนักลด หรือไม่เพิ่ม ทุกๆสัปดาห์น้ำหนักของลูกแมวจะเพิ่ม 50-100 กรัม ( 0.5 - 1 ขีด ) เมื่อลูกแมวอายุ 14 วัน น้ำหนักจะเพิ่มเป็น 2 เท่าของน้ำหนักเมื่อแรกเกิด กรณีที่น้ำหนักไม่เพิ่ม ควรจัดอาหารเพิ่มให้ทาน


สุขลักษณะของลูกแมว

- แมวเด็กแรกเกิดจะไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ ต้องทำการกระตุ้นโดยใช้ผ้าขนหนูนุ่มๆ ชุบน้ำอุ่นลูบบริเวณทวารหนัก จะทำให้ปัสสาวะ หรืออุจจาระภายใน 1-2 นาที
- โดยปกติลูกแมวจะถ่ายได้เองเมื่ออายุ 21 วัน
- หมั่นสังเกตของเสียที่ถ่ายออกมา ปัสสาวะที่ปกติควรมีสีเหลืองอ่อนหรือใส ถ้ามีสีเหลืองคล้ำหรือส้มแสดงว่าลูกแมวได้รับอาหารไม่เพียงพอ
- อุจจาระที่ปกติจะมีสีน้ำตาลจางหรือเข้ม เมื่อมีอุจจาระเขียวแสดงถึงการติดเชื้อ และถ้าอุจจาระแข็งมากแสดงว่ามีการให้อาหารทีละมากๆ แต่ไม่บ่อย เป็นสาเหตุทำให้ท้องอืด มีแก๊สมาก หายใจไม่สะดวก


อุณหภูมิและความชื้น


แมวเด็กจะยังไม่สามารถรักษาความร้อนด้วยตัวเองหรือสั่นตัวเพื่อให้เกิดความร้อนได้ จึงต้องมีการจัดที่ๆให้ความร้อนแก่ลูกแมว เช่น ตู้อบ เครื่องทำน้ำอุ่น หลอดไฟ ซึ่งถูกออกแบบสำหรับสัตว์ที่พึ่งเกิดใหม่ จะช่วยให้ความร้อนและป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนที่สูงเกินไป ควรจะมีเทอโทมิเตอร์เพื่อตรวจสอบอุณหภูมิ
- ช่วงสัปดาห์แรก อุณหภูมิควรจะเป็น 85-90 องศาฟาเรนไฮต์ ความชื้น 55-60%
- อายุ 3 สัปดาห์ ควรลดอุณหภูมิเป็น 75 องศาฟาเรนไฮต์
- ถ้าลูกแมวมานอนกองรวมกันแสดงว่ายังหนาวเกินไป แต่ถ้าอยู่แยกกันแสดงว่าร้อนเกินไป
- ลูกแมวที่มีอุณหภูมิต่ำ ควรทำให้ร่างกายอบอุ่นอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลา 2-3 ชม. จนมีอุณหภูมิปกติที่ 97 องศาฟาเรนไฮต์

- ควรรักษาความชื้นโดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำวางไว้บนกล่องที่ลูกแมวอาศัยอยู่
- ไม่ควรเลี้ยงลูกแมวในที่อับชื้น หรือที่ผุพังเพราะจะมีเชื้อราและเป็นสาเหตุของโรคทางเดินหายใจ
- การควบคุมอุณหภูมินั้นสำคัญกว่าเรื่องความชื้น
- ลูกแมวควรอยู่ในที่ๆมีผิวสัมผัสที่ดี เช่น ผ้าห่ม หรือผ้าขนหนู จะช่วยให้ลูกแมวมีพัฒนาการของการเคลื่อนไหวได้ดี

การป้องกันโรคในลูกแมว

ลูกแมวมีโอกาสติดโรคได้ง่าย เช่น โรคทางเดินหายใจ โดยเฉพาะถ้าไม่ได้น้ำนมแม่ที่มี
สารแอนติบอดี้มากมายภายใน 24 ชม.แรกหลังคลอด ซึ่งแอนติบอดี้นั้นจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ลูกแมว
- ลูกแมวที่ไม่ได้นมแม่ จะมีภูมิคุ้มกันน้อย และควรฉีดวัคซีนให้ลูกแมวด้วย
- ลูกแมวควรได้รับการถ่ายพยาธิเมื่ออายุครบ 6 สัปดาห์ และถ่ายซ้ำอีกเมื่อ 8 สัปดาห์และ 10 สัปดาห์ตามลำดับ

การบำรุงลูกแมวและการเตรียมพร้อมสู่การดำเนินชีวิตประจำวัน

- เราควรลูบ กอด และเล่นกับลูกแมวประมาณ 30-40 นาทีต่อวัน เพื่อเป็นการกระตุ้นร่างกายแก่ลูกแมว
- ที่นอนก็ควรจะใช้วัสดุอ่อนนุ่มปูรองเพื่อให้ลูกแมวหลับสบายและร่างกายอบอุ่น
- ควรจับลูกแมวอย่างอ่อนโยนดั่งเช่นเด็กทารก
- พยายามทำให้ลูกแมวรู้สึกว่าเป็นเหมือนสมาชิกในครอบครัวในช่วง 3-6 สัปดาห์แรก
- ควรฝึกให้ลูกแมวคุ้นเคยกับคน เสียงและคำพูด ระบบการขับถ่าย รวมถึงสัตว์เลี้ยงของเราตัวอื่นๆด้วย


ทั้งหมดนี้ก็คือการเลี้ยงดูลูกแมวตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยที่มีภูมิคุ้มกันครบถ้วนแทนแม่ของลูกแมว ถ้าเรามีการเตรียมพร้อมและการเอาใจใส่ ลูกแมวก็จะเติบโตขึ้นมาเป็นแมวที่น่ารัก ขี้อ้อน และพร้อมที่จะเป็นสมาชิกของครอบครัวอย่างเต็มที่ แต่หากเราไม่ดูแลเอาใจใส่ ปล่อยทิ้งปล่อยขว้าง ลูกแมวอาจจะไม่รอดก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นการมีชีวิตของของลูกแมวที่แสนจะเปราะบางนี้อยู่ในกำมือของเรา ควรเอาใจใส่เป็นพิเศษนะครับ :)

ขอบคุณที่มาของข้อมูลดีๆนี้ด้วยครับ
http://www.spoon-petshop.com



Flag Counter


Flag Counter






โพสต์แลกเปลี่ยนความรู้กันได้ที่นี่เลยครับ โดยใช้ Facebook Username ของคุณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น